งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกิจกรรมชมรมต่าง ๆ ขึ้นภายในสถานศึกษา
  • ดำเนินการจัดตั้งและควบคุมดูแลองค์การวิชาชีพต่าง ๆ ขึ้นในสถานศึกษา เช่น องค์การเกษตรกรในอนาคต แห่งประเทศไทยในพราะราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยามบรมราชกุมารี (อกท.) องค์การช่างเทคนิคในอนาคตแห่งประเทศไทย(อ.ช.ท.) องค์การนักคหกรรมศาสตร์ในอนาคตแห่งประเทศไทย (อคท.) องค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย (อธท.) องค์การช่างศิลป หัตถกรรมในอนาคตแห่งประเทศไทย (อศท.) หรือองค์การที่เรียกชื่ออย่างอื่นในลักษณะเดียวกัน
  • จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษา สังคม ชุมชน และกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษา และผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายคุณธรรมพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ และตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งโครงการพัฒนานักเรียนนักศึกษาด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์
  • ควบคุมดูแลกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีวิสามัญและนักศึกษาวิชาทหาร
  • ส่งเสริมการกีฬา นันทนาการและศิลปวัฒนธรรมในสถานศึกษา
  • ควบคุมและดำเนินการให้มีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง
  • ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  • สรุปผลการประเมินและนำผลการประเมินเสนอฝ่ายบริหารและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  • จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  • ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  • ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

ประเภทกิจกรรม

  1. ลูกเสือวิสามัญ หมายถึง กิจกรรมที่ จัดให้แก่นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 โดย ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเวลา 1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย ลูกเสือวิสามัญ 1 และ ลูกเสือวิสามัญ 2 ซึ่งจะปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมของลูกเสือวิสามัญ ขบวนการและพิธีการต่าง ๆ ของลูกเสือวิสามัญ ซึ่งจะต้องเข้าร่วม กิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จะถือว่าผ่านกิจกรรมลูกเสือวิสามัญของสถานศึกษา
  2. กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร หมายถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ กำหนดไว้ในกฎหมายและอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหาร ตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด โดยใช้คำย่อว่า “นศท.” โดยกิจกรรม นักศึกษาวิชาทหาร ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียน นักศึกษา
  3. กิจกรรมองค์การนักวิชาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้สมาชิกชมรมวิชาชีพในระดับชั้น ปวช.2-3 และ ปวส.1 ได้ปฏิบัติในชั่วโมงกิจกรรม สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สมาชิกองค์การนักวิชาชีพ ดำเนินการด้วยตนเอง ประเมินผล และสรุปรายงานผลการปฏิบัติงานตามลำดับ โดยจัดทำเป็นรูปเล่มส่งภายใน สัปดาห์ที่ 18 ของภาคเรียนนั้น ๆ จึงถือว่าผ่านกิจกรรมองค์การนักวิชาชีพฯ
  4. กิจกรรมหน้าเสาธง หมายถึง นักเรียน นักศึกษา ทุกคนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมเข้าแถวหน้าเสาธง เพื่อส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และรับฟังข่าวสารของวิทยาลัยฯ ในแต่ละวัน เริ่มเวลา 07.35-08.00 น. โดยมีครูที่ปรึกษาเช็คชื่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน นักศึกษา
  5. กิจกรรมกลาง หมายถึง กิจกรรมสำคัญของวิทยาลัยฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ในปฏิทินการปฏิบัติงาน ประจำปีของงานกิจกรรมฯ ซึ่งนักเรียน นักศึกษา ทุกคนต้องเข้าร่วม เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ กิจกรรมพิธีบวงสรวงองค์พระวิษณุกรรม และไหว้ครูสามัญ กิจกรรมจิตอาสาฯ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม เสริมสร้างระเบียบวินัย ความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพอนามัย ให้ดียิ่งขึ้น

การประเมินผลกิจกรรม

  1. การประเมินผลกิจกรรมในแต่ละภาคเรียน จะแบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมองค์การนักวิชาชีพฯ (ลูกเสือวิสามัญ, นักศึกษาวิชาทหาร) และกิจกรรมกลาง ซึ่งแต่ละส่วนจะมีเกณฑ์ประเมินต่างกันออกไป
  2. กิจกรรมหน้าเสาธง จะร่วมมือกับงานครูที่ปรึกษาเพื่อรับข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมฯ ของนักเรียน นักศึกษา และต้องผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็น ของภาคเรียนนั้นๆ
  3. กิจกรรมองค์การนักวิชาชีพฯ จะร่วมมือกับครูที่ปรึกษาชมรมวิชาชีพ เพื่อรับข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมฯ ของนักเรียน นักศึกษา และสรุปผลเป็นรูปเล่มส่งภายในสัปดาห์ที่ 18 ของภาคเรียนนั้นๆ ต้องผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็น
  4. กิจกรรมกลาง งานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมฯ ในแต่ละครั้ง พร้อมทั้งสรุปผลการเข้าร่วมกิจกรรมหลังกิจกรรมนั้นๆสิ้นสุดลง และนักเรียน นักศึกษาทุกคน ต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งของภาคเรียนนั้นๆ จึงถือว่า ผ่าน

การขอแก้กิจกรรมที่ไม่ผ่าน/ตก

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา จะดำเนินการให้นักเรียน นักศึกษา ขอแก้กิจกรรมที่ไม่ผ่าน/ตก เป็น 2 ช่วง คือ ปลายภาคเรียนที่ 1 โดยสามารถข้อแก้ได้ 1 ภาคเรียน และปลายภาคเรียนที่ 2 สามารถข้อแก้ได้ 2 ภาคเรียน มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

  1. งานกิจกรรมฯ จัดทำประกาศกำหนดการขอแก้กิจกรรมที่ไม่ผ่าน/ตก
  2. นักเรียน นักศึกษา ยื่นคำร้องขอแก้กิจกรรมที่ไม่ผ่าน/ตก ณ ห้องงานกิจกรรมฯ
  3. ลงทะเบียนขอแก้กิจกรรมที่ไม่ผ่าน/ตก ณ ห้องงานกิจกรรมฯ พร้อมชำระค่าลงทะเบียน ณ ห้องงานการเงิน
  4. นักเรียน นักศึกษา มารับมอบหมายงานตามวัน เวลา ที่ระบุไว้ในประกาศกำหนดการ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจง เงื่อนไข แนวทางปฏิบัติ จากหัวหน้างานกิจกรรมฯ
  5. นักเรียน นักศึกษา ดำเนินการแก้กิจกรรมที่ไม่ผ่าน/ตก ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้และ จัดส่งรูปเล่มบันทึกผลการปฏิบัติงาน(เล่มเขียว) โดยมีครู/เจ้าหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองผล ดังนี้
    • กิจกรรมลูกเสือวิสามัญ (ครูหัวหน้างานกิจกรรมลูกเสือวิสามัญ)
    • กิจกรรมหน้าเสาธง (งานกิจกรรม/งานปกครอง)
    • กิจกรรมองค์การนักวิชาชีพฯ (งานกิจกรรม/ครูที่ปรึกษา อวท.)
    • กิจกรรมกลาง (งานกิจกรรม)
  6. งานกิจกรรมฯ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและสรุปผล เพื่อเสนอผู้บริหารตามลำดั

นายพัสกร วงศ์ปัญญาวุธ

หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา

นางวราภรณ์ ยศสมสาย

หัวหน้างานกิจกรรม ฯ (ลูกเสือ)

นางสาวพิทยาภรณ์ การะเวก

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรม ฯ (อวท.)

นายปณิธาน ส่างสวัสดิ์

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรม ฯ (แผนกวิชาช่างกลโรงงาน)

นายเกรียงศักดิ์ เปียงกา

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรม ฯ (แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง)

นางสาวนิตยา ป้องกัน

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรม ฯ (แผนกวิชาสามัญ-สัมพันธ์)

นางสาววิชุดา วรรณธนะชัย

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรม ฯ (แผนกวิชาการบัญชี)

นายวสันต์ เทวัญ

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรม (แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล)

นางสาวสุกันยา สุุยะสืบ

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรม (TO BE NUMBER ONE)

นายยุทธพงศ์ อาจกล้า

ผู้ช่วยหัวหน้างานลูกเสือวิสามัญ

นายอิทธิพงษ์ ขันคำ

ผู้ช่วยหัวหน้างานกิจกรรมฯ (รด.)

นายณัฒิวุุฒิ สุยะธิ

หัวหน้างานกิจกรรมฯ (รด.) และโครงการชีววิถี

นางปิยะพร วงค์เปี้ย

เจ้าหน้าที่งานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา